วันพฤหัสบดีที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2554

สมุนไพรแก้โรคซางในเด็ก

หัวอีอุ๊ก ดอกสวยยาดีเด็ก




ไม้ต้นนี้ เพิ่งพบมีต้นวางขายกำลังมีดอกสีสันสวยงามมาก แต่ไม่มีป้ายชื่อเขียนติดไว้ ผู้ขายบอกว่าเป็นต้นโสมชบาใบเล็ก โดยโสมชบาใบเล็ก จะมีข้อแตกต่าง คือ ใบจะเป็นรูปแถบแคบและยาว ส่วนใบของโสมชบาใบใหญ่ ใบจะเป็นรูปรีกว้างและใหญ่กว่าเยอะ จึงถูกเรียกว่า โสมชบาใบเล็ก ส่วนรูปทรงและสีสันของดอกจะเหมือนกัน ทำให้คนทั่วไปเข้าใจผิดเป็นประจำ และที่นสำคัญโสมชบาใบเล็ก มีแหล่งที่พบอยู่ในแถบช่องเม็ก จังหวัดอุบลราชธานี เพียงแห่งเดียวเท่านั้น ขณะที่โสมชบาใบรี หรือโสมชบาใบใหญ่ มีแหล่งที่พบที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จึงไม่ใช่ต้นเดียวกันอย่างแน่นอน



อย่างไรก็ตาม เมื่อนำลักษณะต้น ใบ และดอกไปต้นในสารบบพรรณไม้จึงทราบว่า โสมชบาใบเล็ก ที่ผู้ขายเรียกนั้น คือต้นหัวอีอุ๊ก พบขึ้นบนเขาในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานีจริง โดยคนในพื้นที่เรียกว่า "หัวอีอุ๊ก" หัวไก่โอก และ หญ้าขี้อ้น มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า DECASCHISTIA INTERMEDIA CRAIB อยู่ในวงศ์ MALVACEAE มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์ เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก ต้นสูง 10 -60 ซม. ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับเป็นรูปแถบแคบ กว้างประมาณ 0.3-1 ซม. ยาว 2.2-9 ซม. ปลายใบเป็นติ่งแหลมถึงมน โคนใบเป็นรูปลิ่ม ผิวใบด้านล่างมีขนสีเขียวสด

ดอก ออกเป็นดอกเดี่ยว ๆ หรือเป็นชื่อที่ซอกใบ ใกล้ปลายยอด มีริ้วประดับกลีบเลี้ยงเชื่อมติดกัน ปลายแยกเป็น 5 แฉก มีกลีบดอก 5 กลีบ ลักษณะกลีบเป็นรูปไข่กลับเฉียงกว้างประมาณ 1-1.5 ซม. ยาวประมาณ 3 ซม. เป็นสีแดงสดใส มีเกสรตัวผู้จำนวนมาก ก้านชูอับเรณูเชื่อมติดกันเป็นมัด ใจกลางดอกเป็นสีขาว ดอกบานเต็มที่จะมีขนาดใหญ่คล้ายกับดอกชบาสวยงามมาก

ผล รูปทรงกลม เมื่อแก่แตกกลางพู มีเมล็ดหลายเมล็ด เป็นรูปไต ดอกออกได้เรื่อย ๆ ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ปัจจุบันต้นหัวอีอุ๊ก หรือที่ผู้ขายเรียกว่า โสมชบาใบเล็ก มีขายที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับสวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสบดี บริเวณโครงการ 3 ติดกับแผงเจ๊ติ๋ม ราคาสอบถามกันเอง สามารถปลูกเป็นไม้ประดับได้ จัดอยู่ในกลุ่มไม้หายากชนิดหนึ่ง ปลูกลงกระถางหรือปลูกลงดินหลาย ๆ ต้น รดน้ำพอชุ่มเช้าเย็น บำรุงปุ๋ยเดือนละครั้ง เวลามีดอกจะสวยงามแปลกตาน่ารักมาก



สรรพคุณทางยา ตำรายาพื้นบ้านอีสาน หัวสด หรือ แห้ง ต้มน้ำดื่มแก้โรคซางในเด็กได้ดีมาก






รู้จักโรคซางในเด็ก




เด็กเล็กๆ ที่กินน้อย ไม่ยอมกิน ทั้งที่ไม่ได้เจ็บป่วยเป็นโรคอะไร ผู้ใหญ่สมัยก่อนให้เหตุผลว่าเป็นซาง ซึ่งทุกวันนี้ แม่สมัยใหม่อาจพอรู้จัก ได้ยินมาบ้าง แต่ส่วนที่สงสัยกับเรื่องนี้ก็มีเช่นกัน เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องกับอาการดังกล่าวที่ว่า เรามาดูข้อมูลเรื่องนี้ค่ะ

ข้อเท็จจริง
เป็นภาวะขาดสารอาหาร เช่น โปรตีนหรือพลังงาน ทําให้เด็กมีร่างกายผอม กล้ามเนื้อลีบ ไขมันน้อยกว่าเด็กทั่วไป เมื่อวิเคราะห์ถึงปัจจัยที่ทําให้เกิดการขาดสารอาหาร หรือที่มาของการเรียกว่าซางในเด็กเล็กนั้น มาจากปัจจัยต่อไปนี้

ความรู้ ความเข้าใจในการเลี้ยงดู เช่น ลูกได้รับนมแม่ไม่เพียงพอตลอดระยะเวลา 6 เดือนแรก
การให้นมผสมที่ไม่ถูกต้องเหมาะสมกับลูก เช่น วิธีการผสม, ปริมาณการให้นม และชนิดของนมผสม
การเริ่มต้นอาหารเสริม ที่ช้าหรือเร็วเกินไป
การเลี้ยงดูไม่เหมาะสม เช่น ตามใจให้เด็กกินอาหารจุบจิบที่ไม่มีคุณค่าทางโภชนากา ร ทําให้อิ่มไม่อยากกินอาหารมื้อหลัก
ภาวะเจ็บป่วยที่ทําให้ได้รับอาหารน้อยลง ซึ่งอาจเกิดจาก การเบื่ออาหาร หรือการดูดซึมและการย่อยอาหารบกพร่อง
ปัจจุบัน ปัญหาการขาดสารอาหารในเด็กเล็ก พบได้ไม่บ่อยเมื่อเทียบกับอดีตที่ผ่านมา เนื่องจากความรู้และความเข้าใจของพ่อแม่เกี่ยวกับวิถ ีการกินของลูกมีมากขึ้นนั่นเอง อย่างไรก็ตาม ภาวะการขาดสารอาหารยังเป็นอันตราย ส่งผลต่อตัวเด็กในเรื่องสุขภาพ เช่น ระบบการขับถ่าย ระบบทางเดินหายใจ หากอยู่ในขั้นที่รุนแรง


การดูแลที่เหมาะสม
ช่วง 6 เดือนแรก ลูกได้รับนมแม่ สารอาหารที่ดีและสมบูรณ์ที่สุด แต่เมื่อลูกเติบโตขึ้น มีการใช้พลังงานไปกับกิจกรรมในแต่ละวัน ร่างกายจําเป็นต้องได้รับสารอาหารที่เพียงพอต่อความต ้องการ อาหารจึงมีความสําคัญอย่างมาก เพื่อป้องกันการเกิดภาวะขาดสารอาหาร คุณแม่จึงควรดูแลในเรื่องต่อไปนี้


อาหารเสริม

เริ่มต้นให้ทีละน้อยๆ ในลักษณะเนื้อเนียนละเอียดก่อน จนกระทั่งค่อยๆ หยาบขึ้นตามช่วงวัย
เน้นการให้อาหารที่ครบ 5 หมู่ และมีความหลากหลายชนิดอย่างเหมาะสม
ไม่ควรฝืนหากลูกไม่ยอมกิน เพราะจะทําให้ลูกรู้สึกไม่ดีกับการกิน


สร้างนิสัยการกินที่ดี

ไม่ควรให้ลูกกินนมหรือขนม ก่อนมื้ออาหารหลัก เพราะทําให้อิ่มได้ง่าย
ฝึกนิสัยการกินที่ดี โดยกินอาหารร่วมกัน ที่โต๊ะ ไม่กินไปเล่นไป


วิตามินเสริมหรือการใช้ยา
เรื่องการกินวิตามินเสริม แม้ทางการแพทย์ไม่มีข้อห้าม แต่ก็ต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของคุณหมอเป็นหลัก โดยเฉพาะการใช้ยากับเด็กเล็ก เป็นเรื่องที่ต้องระมัดระวัง อย่างมาก หากไม่มั่นใจกับเรื่องการกิน สุขภาพ ของลูก ควรปรึกษาคุณหมอเป็นทางที่ดีกว่าแน่นอนค่ะ

ขอบคุณข้อมูลจาก พญ.พัฏ โรจน์มหามงคล